จัดประชุมทั้งที จะเลือกล่ามประเภทไหน
หลายคนคงจะมีคำถามว่าจะจัดประชุมทั้งที จะต้องใช้ล่ามอย่างไร เริ่มต้นยังไง ใช่ไหมคะ? วันนี้ อนนิ ทรานสเลชันมี ข้อควรพิจารณามาให้ลองคิดตามกันค่ะ 5 ข้อ ที่จะต้องพิจารณาเพื่อเลือกใช้ล่ามให้ถูกประเภท
1. ระยะเวลาและเนื้อหาของการประชุม
ถ้างานประชุมมีเนื้อหาค่อนข้างแน่น และมีระยะเวลาจำกัด อาจจะต้องพิจารณาเลือกใช้ล่ามแบบฉับพลัน (Simultaneous interpretation) เพราะล่ามจะสามารถแปลพร้อมกับผู้พูด ทำให้ไม่ต้องเสียเวลารอ พูดที แปลที
แต่หากงานประชุมของคุณมีการสำรองระยะเวลาไว้ค่อนข้างมาก เนื้อหาไม่แน่น ต้องการคำชี้แจง หรืออธิบายเพิ่มเติมระหว่างการประชุม แบบนี้ ทางอนนิ จะขอแนะนำเลือกใช้ล่ามแบบพูดตาม (Consecutive interpretation) ค่ะ
2. จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุม
โดยปกติแล้ว หากเป็นการประชุมใหญ่มีผู้เข้าร่วมการประชุมจำนวนมาก ประเภทของล่ามที่จะตอบโจทย์ได้ดีที่สุดคือ ล่ามแบบฉับพลัน เพราะทุกคนสามารถได้ยินการแปลอย่างชัดเจนจากอุปกรณ์หูฟังแปลภาษาที่ทางผู้จัดเตรียมไว้ให้
แต่หากเป็นการประชุมย่อยมีผู้ฟังไม่กี่ท่าน และเป็นการพูดคุยเชิงสัมภาษณ์ อนนิ จะแนะนำให้ลองพิจารณาการล่ามแบบแปลตาม แต่หากการประชุมนั้นมีระยะเวลาที่จำกัดแต่ต้องการคำอธิบาย หรือคำตอบที่มีความซับซ้อนและต้องการคำชี้แจง อาจจะพิจารณาใช้ล่ามแบบแปลตามและแบบฉับพลันผสมผสานกันได้ค่ะ แต่อย่าลืมนะคะว่า หากเลือกการทำล่ามแบบฉับพลันแล้วจะต้องมีการเช่าอุปกรณ์ด้วยเสมอนะคะ
3. ประเภทของการประชุม
ผู้จัดจะต้องพิจารณาก่อนว่างานที่จะจัดนั้นเป็นการประชุมแบบใด ยกตัวอย่าง
- สัมมนาแบบนั่งฟังการบรรยาย การเสวนา การประชุมแบบนี้จะใช้ระยะเวลาที่ยาวนานโดยปกติแล้วจะมากกว่า 1-2 ชั่วโมง อนนิ แนะนำให้เลือกล่ามแบบฉับพลัน
- จัด Talk show บทเวที ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง เพื่อโปรโมทสินค้า บริการ หรือแถลงข่าว แบบนี้ ทางอนนิ จะแนะนำให้เลือกล่ามแบบแปลตาม
- Workshop การประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุมแบบนี้ จะใช้ระยะเวลานาน และมีการถามตอบ ระหว่างงาน และมีเนื้อหาที่ค่อนข้างแน่น อนนิ จะขอแนะนำให้เลือกล่ามแบบฉับพลัน เพราะจะทำให้ไม่เสียเวลา และเสีย flow ของการถาม-ตอบ
- การสัมภาษณ์ ที่ต้องการลงลึกรายละเอียด แบบมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่เกิน 5 คน การประชุมแบบนี้จะต้องเน้นการรวบรวมความคิด อธิบาย ซัก ถาม พูดคุยกันภายใน หรือเป็นการสัมภาษณ์ที่เจาะลึกลงรายละเอียด การประชุมแบบนี้ อนนิ จะแนะนำให้ใช้ล่ามแบบแปลตาม ยกเว้น บางกรณีที่เป็นการสัมภาษณ์แบบ Focus Group Discussion หรือการสนทนากลุ่ม อาจจะพิจารณาใช้ล่ามแบบฉับพลันได้ เพื่อไม่ให้ขัดจังหวะการพูดของผู้ถูกสัมภาษณ์เพราะงานประชุมประเภทนี้ผู้สัมภาษณ์ต้องการข้อมูลแบบละเอียด รวมถึงเข้าใจอารณ์ ความรู้สึกของจากผู้ถูกสัมภาษณ์ ดังนั้น flow หรือความเห็นของการสนทนาจึงเป็นเรื่องสำคัญ
4. งบประมาณ
แน่นอนว่าเรื่องงบเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจัดประชุม โดยปกติแล้วอัตราค่าบริการของล่ามแบบฉับพลันมักจะสูงกว่าล่ามแบบแปลตามประมาณ 20-30% อย่างน้อย และจะต้องมีการเช่าอุปกรณ์เพิ่มเสมอ เช่น อุปกรณ์แบบทัวร์ไกด์ หรือตู้ล่าม และหูฟังแปลภาษา แต่หากเราพิจารณาหลายปัจจัยร่วมกัน บางครั้งการใช้ล่ามแบบฉับพลันก็อาจจะคุ้มค่ามากกว่าในแง่ของเวลา เนื้อหา และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าประชุม จากประสบการณ์ของ อนนิเอง สัดส่วนการใช้ล่ามแบบฉับพลันมักจะสูงกว่าล่ามแบบแปลตามค่ะ เพราะผู้จัดงานคำนึงถึงต้นทุนด้านอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น เวลาที่ต้องเสียไป การประชุมไม่สัมฤทธิผลเพราะขาดความสนใจ และอารมณ์ร่วมในการโต้ตอบเนื่องจากการประชุมใช้เวลานานและน่าเบื่อ เป็นต้น
5. สถานที่ในการจัดประชุม
การประชุมนอกสถานที่ หลายครั้งที่การประชุม หรือการพูดคุยนั้นอยู่นอกสถานที่ เช่น การเยี่ยมชมการสาธิตในแปลงเกษตร การเดิน หรือนั่งรถบรรยายสถานที่ หลายครั้งที่ผู้จัดมักจะคิดว่าใช้ล่ามแบบแปลตามจะเหมาะกว่า แต่ความจริงแล้ว การแปลนอกสถานที่แบบนี้ หากไม่ได้มีการหยุดรวมกลุ่ม เพื่อรับฟังเป็นช่วง ๆ แล้วละก็ การเลือกใช้ล่ามแบบฉับพลันพร้อมอุปกรณ์แปลภาษาแบบทัวร์ไกด์จะเหมาะสมที่สุด เนื่องจากหากมีผู้ที่ต้องการฟังการแปลภาษามากกว่า 1-2 คนแล้ว เสียงของล่าม 1 คนอาจจะทำให้ท่านอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมในคณะนั้นได้ยินเสียงล่ามไม่ชัดเจน เนื่องจากมีปัจจัยภายนอกหลายประการ เช่น เสียงรบกวนจากยานพาหนะ ลม เสียงจากคนหลายคนคุยกัน จะทำให้ผู้ที่ต้องการรับฟังคำแปลภาษาได้ยินไม่ชัดเจน ดังนั้นการล่ามแบบฉับพลันโดยใช้อุปกรณ์ทัวร์ไกด์และหูฟังแปลภาษา ที่สามารถพกพาไปได้ทุกที่จึงจะดีที่สุด เพราะล่ามจะสามารถล่ามได้แบบ real time โดยไม่ต้องหยุดรอ เพื่อแปล ไม่เสียเวลา และทุกคนที่ใส่หุฟังแปลภาษาจะได้ยินคำแปลที่ชัดเจนกว่าค่ะ