เป็นนักแปล เริ่มต้นอย่างไร
การจะเป็นนักแปล จะต้องหมั่นสะสมความรู้ ความเข้าใจในภาษาที่อยากแปล โดยการที่นักแปลมีความรู้มาเป็นอย่างดีแล้วจะช่วยอำนวยให้การแปลคำ แปลออกมาได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว แต่การจะเป็นนักแปลที่ดีได้นั้น จะต้องไม่หยุดค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ประกอบการแปลให้งานของเราออกมาดียิ่งกว่าที่เคย
ความสนใจภาษาต้นทาง:
เป็นเหมือนกับการตั้งเป้าหมาย และเป็นจุดเริ่มต้นของความรักความชอบในงานแปลภาษา โดยควรเลือกภาษาที่ตนเองให้ความสนใจจริงๆ เพื่อให้อยู่กับมันได้นานและมีกำลังใจที่จะคอยแปลให้ผู้อ่านสามารถรับสารได้อย่างเข้าใจ
การศึกษาภาษา:
เมื่อมีภาษาที่สนใจแล้ว สิ่งต่อไปคือการศึกษาเกี่ยวกับภาษาที่ตนเองอยากแปล โดยไม่ควรจะท่องจำคำศัพท์ หรืออ่านออกเขียนได้เพียงอย่างเดียว แต่ควรศึกษารวมไปถึงโครงสร้างของประโยค บริบททางภาษา และวัฒนธรรมของภาษาต้นทางด้วยเช่นกัน
การค้นคว้าหาข้อมูล:
เป็นการเรียนรู้และเพิ่มพูนข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อใช้ประกอบงานแปล ไม่ว่าจะเป็นคำศัพท์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวัน หรือตัวอย่างการใช้ภาษา มุกตลกต่างๆ ที่เกี่ยวกับภาษา สิ่งเหล่านี้ล้วนเพิ่มพูนความรู้ให้กับนักแปลได้ และนักแปลควรที่จะศึกษาหาความรู้เรื่องทั่วไป เพื่อให้รู้จักคำศัพท์เฉพาะด้าน หรือเพื่อเปิดโอกาสให้กับการหางานแปลของตนเองมีความหลากหลายยิ่งขึ้น
หมั่นสังเกต:
คอยหมั่นสังเกตคำศัพท์ สำนวนการแปล และรูปแบบการแปล การทำแบบนี้จะทำให้เรามีมุมมองในการแปลที่กว้างมากขึ้น เนื่องจากแต่ละงานแปลมีสำนวนและรูปแบบการแปลที่ไม่เหมือนกัน ทำให้เพิ่มความหลากหลายให้กับทักษะการแปลได้มากขึ้น
บทสรุป:
การจะเป็นนักแปลนั้นเป็นได้ไม่ยาก แต่สิ่งที่ยากคือการเชี่ยวชาญและการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง หากคอยพัฒนาทักษะของตนเองอยู่เรื่อยๆ หนทางสู่ความสำเร็จก็อยู่ห่างแค่เพียงเอื้อมมือ